เรียนอย่างไรให้ “เทพ” ตอนที่ 3

มาถึงตอนสุดท้ายกันแล้วครับกับซีรีย์ “เรียนอย่างไรให้เทพ” จากตอนที่แล้วคุณ Ahmad ได้แชร์เทคนิคการเรียน การอ่านหนังสืออย่างมีประสิทธิภาพไปแล้ว ทีนี้มาดูรายละเอียดกันว่าเค้าเตรียมพร้อมอย่างไรในการสอบ เริ่มกันเลยครับ เคล็ดลับเตรียมสอบ ให้อ่านหนังสือเตรียมสอบให้เสร็จก่อนสอบจริงประมาณ 1สัปดาห์ จัดตารางเวลาให้การอ่านแบบจริงจังและวางเดดไลน์ไว้ว่าคุณต้องพร้อมทุกอย่างก่อนวันสอบวันแรก 1สัปดาห์ วิธีนี้จะทำให้คุณไม่กดดันในการเตรียมตัวมากนัก เพราะคุณจะรู้อยู่ในใจว่า “เรายังมีเวลาอีกอาทิตย์นึงสำรองไว้อยู่” แล้วในสัปดาห์สุดท้ายนี้ จะเป็นช่วงเวลาโบนัส อะไรที่คุณเรียนรู้เพิ่มเหมือนเป็นคะแนนพิเศษที่ได้รับ (เพราะคุณอ่านจนจบมาแต่แรกแล้ว) ยิ่งทำให้คุณมีกำลังใจเพิ่มมากขึ้นอีกตามไปด้วย ถ้ามีช่วงเบรก 2-3 วันระหว่างการสอบ อย่ายึดติดกับการอ่านวิชาใดวิชาหนึ่งที่เหลือ ไม่งั้นคุณจะเสียประสิทธิภาพในการอ่านและทำให้คุณเบื่อ ให้เปลี่ยนวิชาอ่านบ้างเพื่อทำให้สมองและสมาธิได้รีเฟรชกับสิ่งใหม่ๆ ทบทวนโน๊ตที่คุณจดไว้หนึ่งวันก่อนสอบจริงจะช่วยให้คุณเห็นภาพรวมทั้งหมดของเนื้อหาที่จะสอบ และจะช่วยให้คอนเนคชั่นความจำในสมองแข็งแรงขึ้น ลืมได้ยากขึ้น เมื่อทำข้อสอบเสร็จแล้ว อย่าพึ่งรีบออกจากห้องสอบ ให้คุณอ่านทวนและตรวจสอบดูอีกทีแล้วดูซิว่าตอบถูกไปกี่ข้อ ทำอย่างนี้ในทุกๆวิชา แล้วนำคะแนนที่คุณคิดว่าทำได้มารวมกัน จะช่วยให้คุณมีกำลังใจ เหมือนกับว่าคุณกำลังเล่นเกมส์สะสมคะแนนอยู่ อย่าลืมเพิ่มพลังกายและพลังใจของคุณด้วยการทานอาหารดีๆและออกกำลังกาย สิ่งเหล่านี้สำคัญมากในช่วงการเตรียมสอบ   เราเห็นเทคนิคการวางแผนเพื่อการเรียนและเตรียมสอบที่ดีที่ควรปฏิบัติตามไปละ ทีนี้มาลองมองมุมกลับดูบ้าง แล้วอะไรละที่ไม่ดีไม่ควรทำในการเรียนหนังสือ Dr. Gerard Danford ได้ให้ความเห็นไว้น่าสนใจมากครับว่า “อยากเรียนให้ดีขึ้นหรอ งั้นก็อย่าเรียนด้วยวิธีแย่ๆสิ” อีกทั้งยังบอกด้วยว่าวิธีการเรียนแย่ๆเนี่ย ส่งผลเสียมากกว่าได้ด้วยซ้ำเพราะทั้งเสียเวลาและยังเป็นการหลอกตัวเองด้วยว่าชั้นน่ะได้เรียนมาแล้ว (ซึ่งจริงๆไม่) มาดูกันเลยดีกว่าครับว่าวิธีเรียนแบบผิดๆมีอะไรกันบ้าง 10 วิธีเรียนแบบผิดๆ…

Share this:
Read More

เรียนอย่างไรให้ “เทพ” ตอนที่ 2

จากตอนที่แล้ว คุณ Ahmad เค้าอธิบายหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยให้คนเราเรียนรู้ได้ดีขึ้นไปแล้ว มาตอนนี้เค้าได้แชร์ประสบการณ์ส่วนตัวของเค้าว่าวางแผนในการเรียนยังไงให้ประสบความสำเร็จ มาดูกันเลยครับ   การวางแผนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนของคุณ ทำตารางเวลา ส่วนตัวผม ผมใช้เวลา 11ชั่วโมงในการอ่านหนังสือ นี่คือก้าวแรกสู่ความสำเร็จเลยนะ ผมใช้เวลาแทบทั้งหมดที่มีอยู่ทุ่มไปกับการเรียน คุณอาจไม่ต้องทำขนาดผมก็ได้ ที่ผมใช้เวลาเยอะขนาดนี้เพราะผมสนใจในวิชาที่ผมเรียนอยู่ และเป็นการแสดงให้เห็นว่าผมเอาจริงเอาจังมากกับการเรียน ผมเกิดมาในครอบครัวยากจน ถ้าผมไม่ขยันรับรองชีวิตผมลำบากแน่ พอผลการเรียนดี ผมก็ได้รับทุนเรียนฟรี ได้เงินรางวัลจากรัฐบาล ทำให้ผมมีอนาคตที่ดีขึ้น คนเรานั้นมีสมาธิได้ 40นาที หรืออย่างมากก็ 1ชั่วโมง เพราะงั้นให้เปลี่ยนวิชาเรียนทุกๆ 40นาทีหรือ 1ชั่วโมงครับ จากนั้นก็ค่อยๆเพิ่มความยาวให้ได้ถึง 2ชั่วโมง ฟังดูยากแต่ผมก็ทำได้มาแล้ว เริ่มจัดตารางของวันด้วยการอ่านเนื้อหาใหม่ที่ต่อจากเมื่อวาน การเริ่มต้นวันด้วยสิ่งใหม่ๆจะช่วยให้คุณมีความหวังและมีแรงกระตุ้น นั่นทำให้คุณได้เห็นความก้าวหน้าของตัวเอง อย่าอ่านจบบทนึงแล้วอ่านบทถัดไปต่อเลย ให้พักเบรกซัก 5-10นาทีก่อน ช่วงพักก็กินชอคโกแลต กินผลไม้ หรือวิตามินเสริม ลุกขึ้นยืนออกไปเดินเล่นชมวิวทิวทัศน์เพื่อให้สมองและความคิดได้ผ่อนคลายบ้าง เหมือนกับการคลิกขวาบน desktop แล้วกดปุ่ม refresh เพื่อให้คอมฯของคุณพร้อมจะรัน applicationต่อไปได้ อ่านแต่ละบท 3ครั้งต่อวัน จัดตารางให้เนื้อหานั้นมี 3ช่วงต่อวัน จดโน๊ตในการอ่านครั้งแรก แล้วทบทวนในครั้งที่สองและสาม…

Share this:
Read More

เรียนอย่างไรให้ “เทพ”

นักเรียน นักศึกษาทุกคน หรือแม้กระทั่งคนที่มีลูกหลานอยู่ในช่วงวัยเรียน คงต้องเคยมีคำถามนี้อยู่ในหัวแน่นอน “ทำยังไง (ลูก)ฉันถึงจะเรียนเก่ง?”ใช่มั้ยครับ โดยส่วนตัวผมเองก็ถือว่าคนที่เรียนได้พอใช้อยู่ แต่ก็ไม่เคยคิดจริงๆจังๆว่าเอ๊ะเพราะอะไรนะ เราถึงเรียนได้ดี จนกระทั่งผมได้อ่านบทความของคุณ Ahmad Ali ที่เขียนได้ดีมาก และผมก็พบว่าสิ่งที่เขาเขียนเป็นความจริงที่เกิดกับผมโดยไม่เคยนึกขึ้นมาก่อนด้วย มาครับเดี๋ยวผมเล่าให้ฟังว่าทำยังไงเราถึงจะเรียนได้เก่งจนเพื่อนๆต้องเรียกเราว่า “เทพ”   ก่อนอื่นเลยมีงานวิจัยสำคัญอยู่ 2 งานครับที่ต้องรู้ก่อนที่จะมาลงรายละเอียดกัน งานวิจัยแรกนั้นเกี่ยวกับ Graphความจำ และงานที่สองเกี่ยวกับ ช่วงเวลาสมาธิ   Graphความจำของมนุษย์ [1] งานวิจัยได้บอกเราครับว่า เมื่อคุณอ่านหรือได้ยินอะไรมาซักอย่าง คุณจะจดจำมันได้ในทันที แต่แล้วคุณจะค่อยๆลืมไปตามกาลเวลา โดยประมาณ 2เดือน คุณก็จะลืมแทบทุกอย่างที่คุณเคยจำได้ละครับ (บางคนอาจเร็วกว่านั้น T T) แต่งานวิจัยนีได้บอกส่วนที่สำคัญมากๆอย่างนึงนั่นคือ “การทบทวน” เมื่อเราทบทวนสิ่งที่เราจำได้เป็นพักๆ คอนเนคชั่นระหว่างสมองเรากับความจำนั้นจะเข้มแข็งขึ้น และทำให้เราลืมยากขึ้นครับ เรียกได้ว่าพยายามจะลืมก็ลืมไม่ได้เลยทีเดียว ลองดูกราฟข้างล่างจะเห็นครับ เมื่อมีการทบทวนครั้งที่สาม อัตราการลืมของเราจะลดลงมากเมื่อเทียบกับการเริ่มจำครั้งแรก เพราะฉะนั้นครับ แทนที่จะมานั่งท่องจำอะไรซักอย่าง เราควรจะวางแผนในการ “ทบทวน” มากกว่า แล้วก็ไม่ต้องเครียดมากครับ ทบทวนแบบสบายๆ แต่บ่อยๆ ลองเริ่มอ่านแบบมีสมาธิในครั้งแรก อ่านอีกรอบตอนเย็น…

Share this:
Read More

คนมี 5 ระดับ แล้วคุณล่ะเป็นคนระดับไหน?

งงใช่มั้ยล่ะครับ ทำไมคนมีแค่ 5 ระดับ 5 ระดับนี้ ที่ผมกำลังจะพูดถึง มันคือ 5 ระดับของทักษะความสามารถ แน่นอนฮะ ยุคสมัยนี้ทุกอย่างเปลี่ยนไปเร็ว เดี๋ยวนี้เด็กตัวเล็กแม่งเล่นมือถือ Internet กันคล่องหมดละ เพราะฉะนั้นแล้ว มันเลยเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องพัฒนาทักษะของเราอยู่อย่างตลอดเวลา เอาล่ะครับ ได้เวลามาดูกันแล้วว่าไอ้ 5 ประเภทที่ผมพูดถึงมีอะไรกันบ้าง จากที่เห็นรูปข้างบนน่ะครัชช มันประกอบด้วยสามเหลี่ยมสองอัน อันนึงกลับหัว อันนึงปกติ อันที่ปกติ ผมขอเรียกมันว่าสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า เห้ย ไม่ใช่ สามเหลี่ยม “Context” หรือ “แก่นสาร” นั้นเอง ส่วนอีกอัน ผมขอเรียกมันว่า “How” หรือ “วิธีการทำอะไรสักอย่างให้สำเร็จ” พื้นที่ของสามเหลี่ยมทั้งสองอันจะตรงกันข้ามกัน อย่างที่เห็นฮะ ในแต่ละระดับถ้า How มาก Context ก็จะน้อย ในทางเดียวกันครับ ถ้า Context มาก How ก็จะน้อย ทีนี่เรามาดูกันดีกว่า ว่าแต่ละระดับ…

Share this:
Read More